วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562

กายวิภาคศาสตร์ของกล้ามเนื้อ (anatomy of muscles)

      โดยทั่วไปกล้ามเนื้อมัดหนึ่งจะมี 2 ปลาย ปลายด้านหนึ่งจะยึดติดกับส่วนที่เคลื่อนไหวไม่ได้ คือ จะอยู่นิ่งเมื่อกล้ามเนื้อมัดนั้นมีการหดตัว เรียกปลายด้านนี้ว่า จุดเกาะต้น (origin) ส่วนปลายอีกด้าน หนึ่งจะยึดติดกับส่วนที่เคลื่อนไหวได้ คือจะเคลื่อนที่เมื่อกล้ามเนื้อมีการหดตัวเรียกปลายด้านนี้ว่า จุดเกาะปลาย (insertion) และเมื่อกล้ามเนื้อมีการหดตัวบริเวณ insertion จะถูกดึงเข้าหาบริเวณ origin กล้ามเนื้อบางมัดมี origin หรือ insertion มากกว่าหนึ่งแห่ง เช่น กล้ามเนื้อ biceps brachii

กล้ามเนื้อมัดต่างๆของร่างกาย

1. กล้ามเนื้อศรีษะ (muscles of head)  ประกอบด้วย

     1.1 กล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้า (muscles of facial expression)

    กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตื้น คือ อยู่ใต้ผิวหนัง (Subcutaneous tissue) ด้านหนึ่งเกาะกับกระดูกหน้า อีกด้านหนึ่งติดกับผิวหนังของใบหน้าทำหน้าที่แสดงความรู้สึกบนใบหน้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ และแสดงอาการทางสีหน้า เช่น ยิ้ม หัวเราะร้องไห้ เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นบุคลิกภาพของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี กล้ามเนื้อที่ใช้แสดงความรู้สึกของใบหน้า (Muscle of facial expression) ที่สำคัญ ได้แก่

1.Frontalis อยู่ที่หน้าผาก ทำหน้าที่ ยกคิ้วขึ้นลง ทำหน้าผากย่น

2.Nasalis อยู่ที่จมูก ทำหน้าที่ หุบปีกจมูก เวลาดมกลิ่น

3.Corrugator อยู่บริเวณคิ้ว – เหนือคิ้ว ทำหน้าที่ ขมวดคิ้ว ครุ่นคิด

4.Orbiculalisocculi อยู่รอบดวงตา ทำหน้าที่ ปิดตา หรือหลับตา

5.Zygomaticus major เกาะอยู่บริเวณโหนกแก้ม – ปากบน ทำหน้าที่ยกปาก

6.Orbicularis oris อยู่บริเวณรอบปาก ทำหน้าที่ หุบปาก ทำริมฝีปากยื่น ทำปากจู๋

7.Risorius อยู่ถัดออกมาทางด้านข้างของปาก ทำหน้าที่เวลาแสยะยิ้ม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ภาพแสดงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและลำคอ
 
    1.2 กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยว (Muscle of mastication) มี 4 มัด ได้แก่

1.Tempolaris muscle อยู่ที่ขมับด้านข้างของกระโหลกศรีษะ แผ่เป็นรัศมีเต็มขมับทำหน้าที่อ้า หุบและยื่นปาก เวลาเคี้ยวอาหาร

2.Masseter muscle อยู่ด้านนอกมุมขากรรไกรล่างของใบหน้ารูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำหน้าที่ยกกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นเวลาเคี้ยวอาหาร

3.Pterigiod muscle เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกยื่นจากส่วนมาตรฐานของกระโหลกศรีษะไปยังบริเวณขากรรไกรล่าง มี 2 คู่ คือ External และ Internal pterigoid muscle ช่วยในการอ้าปาก หุบปาก เคลื่อนกรามไปทางด้านข้าง

2.กล้ามเนื้อคอ (Muscle of the neck)  ที่สำคัญในการเคลื่อนไหวของคอ มีอยู่ 3 มัด คือ

1.Sternomastoidหรือ Sternocleidomastoideusเป็นกล้ามเนื้อที่ใหญ่ที่สุดของคอเกาะพาดจากกระดูกหน้าอกกับกระดูกไหปลาร้าไปยังด้านนอกของกระดูก Mastoid และกระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่เอียงคอ หันและหมุนคอ

2.Splenius capitisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านข้างของคอ มีจุดเกาะเริ่มจากกระดูกสันหลังส่วนลำตัว (thoracic spine) อันที่ 3 และ 4 ไปยังจุดเกาะปลายที่กระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่ยืดคอ เอียงคอและเงยหน้า

3.Semispinaliscapitisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของคอ จุดเกาะต้นเริ่มจากกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical spine) อันที่ 4 และ 5 ไปยังจุดเกาะปลายที่กระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่ยืดคอ เอียงคอและเงยหน้า


3. กล้ามเนื้อลำตัว (muscles of the trunk) ประกอบด้วย

    3.1 กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้า

1. Pectoralis minor เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมแบนเล็กอยู่ภายใต้กล้ามเนื้อPectoralis major เกาะจากผิวนอกของกระดูกซี่โครงซี่ที่ 3 – 5 ไปยัง Coracoid process ของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ดึงหัวไหล่ไปทางด้านหน้าและลงล่าง และช่วยรับน้ำหนักตัวขณะที่ยืนเอามือยัน

2. Pectoralis major เป็นกล้ามเนื้อทรวงอกมัดใหญ่รูปร่างคล้ายพัดคลุมอยู่บนอกและทับอยู่บนกล้ามเนื้อ Pectoralis minor และเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะจากแนวกลางของกระดูกหน้าอกไปยังกระดูกต้นแขน เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นลักษณะเพศชายได้ชัดเจนคือมีลักษณะอกผายไหล่ผึ่ง ทำหน้าที่หุบ งอ หมุนต้นแขนเข้าด้านใน ช่วยในการผลัก ขว้าง ปีนป่าย การหายใจเข้ารั้งแขนให้มาทางด้านหน้าทำให้ไหล่คงรูปอยู่กับที่

3. Rectus abdominisเป็นกล้ามเนื้อหน้าท้องมีลักษณะเป็นแถบยาวเป็นปล้อง ๆ เมื่อออกแรงเกร็งมีจุดเกาะต้นจากกระดูกหัวเหน่า (Pubic bone) ทอดขึ้นบนและค่อย ๆกว้างขึ้นไปเกาะที่ปลายผิวหน้าของกระดูก Xiphoid และกระดูกซี่โครงที่ 5, 6,7 ทำหน้าที่เกร็งช่องท้องเวลายกของหนัก ช่วยในการขับถ่ายและคลอดบุตร

4. Oblique externusหรือ External oblique เป็นกล้ามเนื้อลำตัวด้านข้างตั้งต้นจากกระดูกที่ 4 -12 ทอดเฉียงจากบนมาล่าง ยึดเกาะที่ Iliac crest ของกระดูกเชิงกรานทำหน้าที่เหมือนกับกล้ามเนื้อ Rectus abdominis

5. Serratus anterior เป็นกล้ามเนื้อด้านในของรักแร้ อยู่ทางด้านข้างของอกมีรูปร่างเป็นแฉก ๆ ยึดติดกับกระดูกซี่โครงทางด้านหน้าไปยังกระดูกสะบักทำหน้าที่ยึดดึงกระดูกสะบักให้อยู่กับที่และช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ Deltoid เวลายกแขน
9
ภาพแสดง กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้า
    3.2.กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหลัง 

1. Trapezius เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมคลุมบริเวณคอด้านหลังลงมาถึงหลัง โดยยึดเกาะ จากแนวกลางของแผ่นหลังส่วนบนไปเกาะที่กระดูกไหปลาร้าทั้งซ้ายและขวา ท้าหน้าที่รั้งกระดูกสะบักมาข้างหลัง กล้ามเนื้อส่วนบนเมื่อหดตัวไหล่จะยกขึ้น ส่วนกลางหดตัวจะ ดึงสะบัก 2 ข้างเข้ามาหากัน ส่วนล่างหดตัวจะท้า ให้ไหล่ถูกดึงลง 

 2. Latissimus dorsi เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมแบนกว้าง คลุมอยู่ตอนล่าง ของแผ่น หลังและบั้นเอวทอดผ่านไปมุมล่างของกระดูกสะบัก ท้าหน้าที่ดึงแขนเข้าชิดล้าตัว ดึง แขน ลงมาข้างล่าง ด้านหลังและหมุนแขนเข้าด้านใน กล้ามเนื้อนี้ใช้มากในการปีนป่าย ว่ายน้้า และกรรเชียงเรือ จะหดตัวทันทีใน ขณะที่จาม 

4.กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน (Muscle of the upper limb)

   4.1 กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่  

1. Deltoid เป็นกล้ามเนื้อคลายขนนกหลาย ๆ อันมารวมกันเป็นมัดใหญ่หนา รูป สามเหลี่ยมจุดเกาะอยู่ที่ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แล้วไปเกาะที่ตอนกลางของกระดูกต้น แขน ท้าหน้าที่ยก ไหล่และยกต้นแขน เป็นส่วนที่บ่งบอกลักษณะเพศชายได้อย่างชัดเจน

2. Supraspinatus เริ่มเกาะจากกระดูกสะบักไปยังกระดูกต้นแขน ท้าหน้าที่ช่วย กล้ามเนื้อ Deltoid ในการยก หรือกางแขน

3. Infraspinatus เริ่มเกาะจากกระดูกสะบักไปยังกระดูกต้นแขน ท้าหน้าที่ หมุนต้นแขน ออกด้านนอก และดึงแขนไปด้านหลัง

4. Teres minor และ Teres major เกาะที่กระดูกสะบัก แล้วมาเกาะที่กระดูก ต้นแขน โดย Teres minor ท้าหน้าที่หมุนแขนออกด้านนอก Teres major ท้าหน้าที่หมุนแขนเข้า ด้านใน 

5. Subscapularis มีจุดเกาะที่กระดูกสะบักและกระดูกต้นแขน ท้าหน้าที่หมุนต้นแขนเข้า ด้านใน 


11
ภาพแสดงกล้ามเนื้อส่วนไหล่ และต้นแขน

   4.2 กล้ามเนื้อแขนส่วนต้นที่สำคัญได้แก่

1. Biceps brachiiเป็นกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นแขน มีที่เกาะส่วนบนแยก 2 ทาง คือ เกาะจาก Coracoid process และ Supraglenoid tubercle ไปยัง Tuberosity ของกระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) ทำหน้าที่งอต้นแขนและปลายแขน หมุนแขนเข้าและดึงออก

2. Brachialis เป็นกล้ามเนื้อต้นแขนที่อยู่ตรงกลางค่อนมาด้านล่าง เกาะจากกระดูกต้นแขนไปยัง Tuberosity ของกระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) ทำหน้าที่งอข้อศอก

3. Coracobrachialisเกาะจาก Coracoid process ของกระดูกสะบักไปยังกึ่งกลางของกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่งอต้นแขน

4. Triceps brachiiเป็นกล้ามเนื้อด้านหลังของต้นแขน ปลายบนแยก 3 ทางเกาะที่กระดูกสะบักหนึ่งที่ และอีก 2 ทางเกาะที่กระดูกต้นแขน และมีจุดเกาะปลายที่กระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) กล้ามเนื้อมัดนี้จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับกล้ามเนื้อ Biceps brachiiคือ ทำหน้าที่เหยียดปลายแขน


   4.3 กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน

1. Brachioradialisเป็นกล้ามเนื้อด้านนอกของปลายแขน มีจุดเกาะต้นที่ตอนล่างของกระดูกแขน ไปเกาะที่ด้านนอกของกระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) ทำหน้าที่งอปลายแขน

2. Flexor carpi radialisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของปลายแขน มีจุดเกาะที่กระดูกต้นแขนแล้วมาเกาะที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 และ 3 ทำหน้าที่งอข้อมือและกางมือ

3. Palmaris longusเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหน้าของแขน จุดเกาะต้นเริ่มจากกระดูกต้นแขนไปยังกระดูกปลายแขน แล้วกลายเป็นเอ็น (Tendon) ไปเกาะที่ฝ่ามือทำหน้าที่งอข้อมือ

4. Flexor carpi ulnarisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหลังของกระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) ผ่านมาที่ข้อมือ ทำหน้าที่งอข้อมือ

5. Extensor carpi radialislongusเป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นจากกระดูกต้นแขนแล้วไปเกาะที่กระดูกฝ่ามือทางด้านหลัง ทำหน้าที่กางและเหยียดข้อมือ

6. Extensor digitorumเป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นจากกระดูกต้นแขน และมีปลายเป็นเอ็น 4 อัน ไปเกาะยังกระดูกนิ้วมือทั้ง 4 นิ้ว ทำหน้าที่เหยียดนิ้วมือและข้อมือ

5.กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้ว

   กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้วมือ เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็กและสั้น ส่วนมากจะเป็นเอ็นของกล้ามเนื้อซึ่งติดต่อมาจากแขนท่อนล่าง ทำหน้าที่ช่วยในการงอและเหยียดมือและข้อมือรวมทั้งช่วยให้นิ้วหัวแม่มือสามารถเคลื่อนไปแตะนิ้วอื่น ๆ ได้จึงเรียกว่า Opposition กล้ามเนื้อในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่

1. Thenar eminence เป็นกล้ามเนื้อหัวแม่มือเกาะที่ฝ่ามือ โดยเฉพาะที่ได้ฐานหัวแม่มือจะเห็นเป็นเนินชัดเจน ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ

2. Hypothenar eminence เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้นิ้วก้อย มีรอยนูนเด่นชัด ทำหน้าที่งอนิ้วก้อย

3. Dorsal interosseusเป็นกล้ามเนื้อที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 และ 2 ผ่านมาเกาะที่นิ้วชี้ ทำหน้าที่กางนิ้วชี้และหมุนหัวแม่มือ


4. Abductor pollicisเกาะอยู่ที่ฐานของนิ้วหัวแม่มือ ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ



6.กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา (Muscle of the lower limb)


12
ภาพแสดงกล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา

   6.1กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและก้นกบ 

1. Gluteus maximusเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และหน้าที่สุดของส่วนสะโพก มีจุดเกาะที่ Ilium และ Sacrum ของกระดูกเชิงกราน แล้วไปเกาะยังกระดูกต้นขา ทำหน้าที่เหยียดขา กางต้นขา หมุนต้นขา ไปทางด้านข้าง

2. Tensor fasciae lataeเป็นกล้ามเนื้อทางด้านข้างของสะโพก เกาะอยู่ที่ส่วนหน้าของกระดูกเชิงกรานทำหน้าที่กางและหมุนขาเข้าด้านใน

   6.2กล้ามเนื้อส่วนโคนขา

   กล้ามเนื้อส่วนนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งหน้าที่ และประสาทที่มาเลี้ยง ด้านหลังของต้นขาเรียกว่า Flexor surface เป็นที่อยู่ของกล้ามเนื้อกลุ่มเอ็นหลังต้นขาด้าล่าง(Hamstring group) อีกกลุ่มหนึ่งคือ กล้ามเนื้อกลุ่มดึงข้อ (Adductor group) และยังมีกล้ามเนื้อกลุ่มด้านหน้าของต้นขา (Anterior group) กล้ามเนื้อส่วนโคนขามัดที่สำคัญ มีดังนี้

1.Biceps femorisเป็นกล้ามเนื้อในกล้ามเนื้อกลุ่มเอ็นหลังต้นขาด้านล่างจุดเกาะเริ่มจากกระดูก Ischium ละกระดูกต้นขาไปยังส่วนหัวของกระดูกปลายขาท่อนเล็ก (Fibula)ทำหน้าที่เหยียดต้นขาและงอเข่า

2. Rectus femorisเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของต้นขา (Anterior group)เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ทางด้านหน้าของต้นขา จุดเกาะเริ่มจากกระดูก lliumไปยังกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia) ทำหน้าที่งอต้นขาและเหยียดปลายขา

3. Satoriusเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของต้นขา มีลักษณะยาวแบนพาดเฉียงบนโคนขา จุดเกาะเริ่มจาก Iliac spine ไปยังส่วนบนของกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia)ทำหน้าที่งอต้นขา และปลายขา

   6.3กล้ามเนื้อส่วนปลายขา

   กล้ามเนื้อส่วนปลายขาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มด้านหน้าของปลายขา(Anterior compartment) กลุ่มด้านข้างของปลายขา (Lateral compartment) และกลุ่มด้านหลังของปลายขา (Posterior compartment) กล้ามเนื้อส่วนปลายขาที่สำคัญ ได้แก่

1.Tibialisanticusเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของปลายขา เกาะจากด้านข้างของกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia) และจากผังผืด ซึ่งยึดระหว่างกระดูกปลายขาท่อนใหญ่และท่อนเล็ก และเกาะที่กระดูกฝ่าเท้าทำหน้าที่กระดกข้อเท้า และบิดข้อเท้าเข้าด้านใน

2. Gastrocnemius เป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหลังของปลายขา เป็นกล้ามเนื้อน่องเกาะจากส่วนปลายของกระดูกต้นขาทั้งสองด้าน ส่วนปลายกลายเป็นเอ็นเกาะที่กระดูกส้นเท้า(Achillis tendon) ทำหน้าที่งอหลังเท้า เหยียดนิ้วเท้า ถีบฝ่าเท้าลงและช่วยงอเข่าด้วย

3. Soleus เป็นกล้ามเนื้อใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาอยู่ใน Gastrocnemius ทำหน้าที่งอฝ่าเท้า


7.กล้ามเนื้อส่วนเท้า

13
ภาพแสดงกล้ามเนื้อส่วนเท้า


  เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะคล้ายบริเวณมีข้อมือแตกต่างกันตรงที่เป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมส้นเท้าระหว่างการเดิน กล้ามเนื้อส่วนเท้าที่สำคัญ มีดังนี้

1. Flexor hallucislongusเกาะจากด้านหลังของกระดูกช่วงล่าง ส่วนปลายเป็นเอ็นเกาะที่กระดูกหัวแม่เท้า ท่อนปลายทำหน้าที่งอปลายนิ้วหัวแม่เท้า ทำหน้าที่กระดกข้อเท้าลง และบิดเท้าเข้าด้านใน

2. Extensor digitorumbrevisเป็นกล้ามเนื้อด้านหลังเท้า ตรงปลายเป็นเอ็นไปเกาะที่นิ้วเท้าทั้ง 4 ยกเว้นนิ้วหัวแม่เท้า ทำหน้าที่เหยียดข้อของนิ้วเท้าทั้ง 4

3. Adductor hallucisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกสุด ทำหน้าที่เหยียดหัวแม่เท้า

4. Flexor digitorumbrevisเป็นกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเท้า ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหว เป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้าเวลาเดิน

ขอบคุณที่มาจาก : http://www.elfit.ssru.ac.th/rapat_ek/pluginfile.


How are muscles named?   Human Anatomy.

 


ขอบคุณวิดีโอจาก : Kenhub - Learn Human Anatomy